วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ศิลปแบบบารอค


ศิลปะแบบบารอค






ศิลปกรรมบารอคมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอิตาลี จากนั้นจึงกระจายออกไปทั่วอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศยุโรป มีการปฏิวัติทางศิลปกรรมในช่วงระหว่างค.ศ. 1550 - 1750 แต่มีความเจริญสูงสุดอยู่ระหว่างค.ศ. 1680 - 1730 ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะในช่วงเวลานี้ว่า High - Baroque

ศิลปะบารอกเกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 สืบต่อจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และเสื่อมความนิยมเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะของศิลปะบารอกเปลี่ยนแปลงจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแสดงอารมณ์สงบนิ่งแฝงปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน แสดงความดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงบิดผันจนเกินงาม หรือประณีตบรรจงเกินไป และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหราเป้นพิเศษ ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในประเทศอิตาลี และกลุ่มประเทศคาทอลิก


         ลักษณะเด่นของรูปแบบสถาปัตยกรรมบารอคโดยรวมคือ ลักษณะรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อจากสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์ ด้วยการเพิ่มเติมโครงสร้างส่วนประกอบ และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมเข้าไปอีก ลักษณะรูปแบบจากความเรียบง่ายมั่นคง มาสู่ความแพรวพราวและดูเคลื่อนไหว มีการใช้โครงสร้างของเส้นโค้งและเส้นคด แสดงความเคลื่อนไหวมากขึ้น และส่วนประกอบมีความตื้นลึกหลายชั้น ฝาผนังแต่ละส่วนมีการเล่นมิติในพื้นที่ส่วนย่อย

 ผลงานประติมากรรมบารอคนั้นมักจะแหวกกรอบสถาปัตยกรรม โดยถูกจัดวางให้โดดเด่นเป็นอิสระในตนเอง เพื่อให้บังเกิดผลทางการรับรู้ จึงมีการใช้หินอ่อน หินสี หินสำริด รวมทั้งการติดกระจกสี ประกอบกับการสร้างฉากให้ประติมากรรมเกิดมิติและการลวงตา เพื่อเป็นการเพิ่มผลทางการมองเห็นให้เกิดความตรึงใจ โดนเฉพาะจิตรกรรม ลักษณะรูปแบบงานจิตรกรรมนั้นจะเป็นการเน้นย้ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสง เงา เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ผลงานที่เป็นภาพคนมักจะแสดงอารมณ์ความรู้สึกโลดแล่นราวคนจริง แสดงความโลดโผนของลีลาท่าทางมากกว่าการสื่อเพียงความงดงามของรูปร่างรูปทรง และความกลมกลืนของทัศนธาตุ และลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ ภาพคนนั้นจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา มีรอยพับอ่อนช้อยและปกคลุมร่วงกายส่วนใหญ่ไว้ด้วยรอยยับดังกล่าว ส่วนฉากหลังจะแสดงถึงทัศนียภาพอันกว้างไกล

1.               ด้านจิตรกรรม มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสงเงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็นภาพสามมิติ จิตรกรสำคัญได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ(Michelangeloda Caravaggio ค.ศ.1573-1610) เรมบรันต์(Rembrandt ค.ศ.1606-1669) และพีเตอร์ พอล รูเบนส์(Peter Paul Rubens ค.ศ.1577-1644)

2.               สถาปัตยกรรม นิยมสร้างให้ดูโอ่อ่าเกินความจำเป็น ตัวอย่างเช่นสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังแวร์ซายของฝรั่งเศส ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

3.               ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่

4.               ด้านวรรณกรรม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค ( John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ ( Moliere)









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น