วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์


ประวัติ

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2348 ที่ เมืองโกต-ดอร์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อท่านอายุได้ 23 ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นบาทหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2371 ที่เซมินารีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส จากนั้นท่านก็ได้รับหน้าที่ให้ไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ณ ประเทศไทย และท่านได้ออกเดินทางเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2371 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2372 ในปี พ.ศ. 2381 ท่านได้รับตำแหน่งอธิการโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ท่านได้ปรับปรุงโบสถ์แห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2217 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจากถูกทิ้งร้างมานานแล้วย้ายไปอยู่ที่โบสถ์อัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2381

จนปี พ.ศ. 2378 มุขนายก ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล กูร์เวอซี (Jean-Paul-Hilaire-Michel Courvezy) ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นได้แต่งตั้งท่านเป็นอุปมุขนายก (vicar general) แล้วให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่ท่านไปดูแลมิสซังที่สิงคโปร์ เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนักให้อภิเษกท่านปาเลอกัวเป็นมุขนายกรองประจำมิสซังสยาม (Coadjutor Vicar Apostolic of Siam) ในปี พ.ศ. 2381  พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส เมื่อมีการแบ่งมิสซังสยามออกเป็นสองมิสซัง ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออกเป็นท่านแรก ในวันที่ 10 ก.ย. พ.ศ. 2384

สังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2397 ช่วงต้นรัชกาลที่ 4 หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี และเป็นผู้นำพระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวาย สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 9 ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้น 3 เล่ม คือ

  • เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou Siam)
  • สัพะ พะจะนะ พาสา ไท (พจนานุกรมสี่ภาษา)
  • Grammatica linguoe Thai (ไวยากรณ์ภาษาไทย)

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2388โดยได้สั่งบาทหลวงอัลบรันด์ซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศสฝากมากับบาทหลวงลาร์นอดี (L' abbe Larnaudie) เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศสนาน 3 ปี จึงเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2399 และถึงแก่มรณภาพที่โบสถ์อัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2405 อายุ 57 ปี ศพฝังอยู่ในโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ได้มีขบวนแห่จากหน้าโบสถ์อัสสัมชัญไปยังหน้าโบสถ์คอนเซ็ปชั่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ให้พิธีศพเป็นไปอย่างสงงามที่สุด จึงพระราชทานเรือหลวงสองลำเพื่อนำขบวนโดยบรรทุกหีบศพ ขบวนแห่นั้นประกอบไปด้วยเรือดนตรี (ดนตรีไทยจากค่ายคริสตัง) เรือของคริสตัง ข้าราชการไทย และทูตต่างประเทศ

ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย
           บาทหลวงปาลเลอกัวซ์  หรือฌอง  แบบตีสต์  ปาลเลอกัวซ์  (พ.ศ. 2348 - 2405)  ชาวฝรั่งเศส  เป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2373  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เริ่มแรกท่านพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ  ต่อมาได้ย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2381  ได้เป็นสังฆราช ณ วัดคอนเซ็ปชัญบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ดี  รวมทั้งมีความรู้ด้านดาราศาสตร์  ภูมิศาสตร์  และวิทยาศาสตร์  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิชาความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและประวัติศาสตร์ไทย
          ผลงานสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน  และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น  โดยมีวชิรญาณเถระ    ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย  และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์  ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก
                    นอกจากนี้  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา  คือ  ภาษาไทย  ละติน  ฝรั่งเศส  อังกฤษ  หรือสัพพะ  พะจะนะ  พาสาไท  พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397  เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส  และแต่งหนังสือเรื่อง  "เล่าเรื่องเมืองสยาม"  ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น
                   
                    2.  ด้านวิทยาการตะวันตก  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์  โดยเฉพาะดาราศาสตร์  ฟิสิกส์  และเคมี  และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป  รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388  โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส  และมีฝีมือในการชุบโลหะ  ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน  นอกจากนี้  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์

                    3.  ด้านศาสนา  บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คริสตศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย  เช่น  สร้างสำนักพระสังฆราชเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่วัดอัสสัมชัญบางรัก  และได้ย้ายจากวัดคอนเซ็ปชัญไปอยู่ที่วัดอัสสัมชัญจนกระทั่งมรณภาพ                  


ศิลปแบบบารอค


ศิลปะแบบบารอค






ศิลปกรรมบารอคมีแหล่งกำเนิดที่ประเทศอิตาลี จากนั้นจึงกระจายออกไปทั่วอิตาลี แล้วขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศยุโรป มีการปฏิวัติทางศิลปกรรมในช่วงระหว่างค.ศ. 1550 - 1750 แต่มีความเจริญสูงสุดอยู่ระหว่างค.ศ. 1680 - 1730 ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะในช่วงเวลานี้ว่า High - Baroque

ศิลปะบารอกเกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 สืบต่อจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และเสื่อมความนิยมเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะของศิลปะบารอกเปลี่ยนแปลงจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแสดงอารมณ์สงบนิ่งแฝงปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน แสดงความดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงบิดผันจนเกินงาม หรือประณีตบรรจงเกินไป และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหราเป้นพิเศษ ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในประเทศอิตาลี และกลุ่มประเทศคาทอลิก


         ลักษณะเด่นของรูปแบบสถาปัตยกรรมบารอคโดยรวมคือ ลักษณะรูปแบบที่พัฒนาสืบต่อจากสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์ ด้วยการเพิ่มเติมโครงสร้างส่วนประกอบ และรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมเข้าไปอีก ลักษณะรูปแบบจากความเรียบง่ายมั่นคง มาสู่ความแพรวพราวและดูเคลื่อนไหว มีการใช้โครงสร้างของเส้นโค้งและเส้นคด แสดงความเคลื่อนไหวมากขึ้น และส่วนประกอบมีความตื้นลึกหลายชั้น ฝาผนังแต่ละส่วนมีการเล่นมิติในพื้นที่ส่วนย่อย

 ผลงานประติมากรรมบารอคนั้นมักจะแหวกกรอบสถาปัตยกรรม โดยถูกจัดวางให้โดดเด่นเป็นอิสระในตนเอง เพื่อให้บังเกิดผลทางการรับรู้ จึงมีการใช้หินอ่อน หินสี หินสำริด รวมทั้งการติดกระจกสี ประกอบกับการสร้างฉากให้ประติมากรรมเกิดมิติและการลวงตา เพื่อเป็นการเพิ่มผลทางการมองเห็นให้เกิดความตรึงใจ โดนเฉพาะจิตรกรรม ลักษณะรูปแบบงานจิตรกรรมนั้นจะเป็นการเน้นย้ำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างแสง เงา เพื่อให้ดึงดูดความสนใจ และความประทับใจเมื่อเกิดการปะทะรับรู้ทางการมองเห็นอย่างฉับพลัน ผลงานที่เป็นภาพคนมักจะแสดงอารมณ์ความรู้สึกโลดแล่นราวคนจริง แสดงความโลดโผนของลีลาท่าทางมากกว่าการสื่อเพียงความงดงามของรูปร่างรูปทรง และความกลมกลืนของทัศนธาตุ และลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ ภาพคนนั้นจะแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอย่างหรูหรา มีรอยพับอ่อนช้อยและปกคลุมร่วงกายส่วนใหญ่ไว้ด้วยรอยยับดังกล่าว ส่วนฉากหลังจะแสดงถึงทัศนียภาพอันกว้างไกล

1.               ด้านจิตรกรรม มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสงเงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็นภาพสามมิติ จิตรกรสำคัญได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ(Michelangeloda Caravaggio ค.ศ.1573-1610) เรมบรันต์(Rembrandt ค.ศ.1606-1669) และพีเตอร์ พอล รูเบนส์(Peter Paul Rubens ค.ศ.1577-1644)

2.               สถาปัตยกรรม นิยมสร้างให้ดูโอ่อ่าเกินความจำเป็น ตัวอย่างเช่นสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังแวร์ซายของฝรั่งเศส ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

3.               ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่

4.               ด้านวรรณกรรม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค ( John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ ( Moliere)









วิหารแอบบีเวสต์มินสเตอร์









บทนำ

สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของมหาวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมหาวิหารในยุโรปตะวันตก

มหาวิหาร หรือ อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้[1] มหาวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นมหาวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่น  มหาวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ มหาวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมหาวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่




แอบบีเวสต์มินสเตอร์  Westminster Abbey (ชื่อเดิมคือเซนต์เซวิเออร์) เดิมเป็นอารามชนิดแอบบี แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในแขวงเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน แคว้นอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอธิคเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค แอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นสถานที่ที่ใช้ในการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพของพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1546 ถึง 1556 แอบบีได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหาร ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แอบบีก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวง





 ที่ตั้งภูมิประเทศ

แอบบีเวสต์มินสเตอร์    ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Westminster) เป็นบริเวณในใจกลางลอนดอน (Central London) ที่ตั้งอยู่เหนือของฝั่งแม่น้ำเทมส์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครหลวงลอนดอน และ 1 กิโลเมตรจากชาริงครอสส์ เวสต์มินสเตอร์เป็นบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์และสิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมลอนดอนรวมทั้งพระราชวังบัคคิงแฮม, แอบบีเวสต์มินสเตอร์ และบริเวณเวสต์เอ็นด์ของลอนดอน (West End of London)                                   



เวสต์มินสเตอร์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของมิดเดิลเซ็กซ์ที่เป็นมลฑลในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ (Historic counties of England) คำว่า เวสต์มินสเตอร์ เป็นคำบรรยายโบราณของบริเวณรอบแอบบีเวสต์มินสเตอร์ –– “เวสต์” + “มินสเตอร์ (บริเวณทางตะวันตกของมหาวิหาร) เวสต์มินสเตอร์เป็นที่ตั้งของ รัฐบาลแห่งอังกฤษมาร่วมหนึ่งพันปี ตั้งแต่การก่อตั้งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวสต์มินสเตอร์ก็เป็นที่ตั้งของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ซึ่งเป็นมรดกโลกและเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร


ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 616 ณ ที่ตั้งปัจจุบันที่เดิมเรียกว่าธอร์น อาย (เกาะธอร์น) ซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำ ตามตำนานกล่าวว่าคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ชื่ออัลดริชเห็นนักบุญปีเตอร์มาปรากฏตัวใกล้กับที่ตั้งแอบบีในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลของการที่แอบบีได้รับปลาซาลมอนจากคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ต่อมา แต่ตามหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่ากล่าวว่าในคริสต์ทศวรรษ 960 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 970 นักบุญดันสตันร่วมกับพระเจ้าเอ็ดการ์ได้ก่อตั้งชุมชนนักพรตคณะเบเนดิกตินขึ้นที่นี่ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพก็สร้างแอบบีให้เป็นโบสถ์หินระหว่างปี ค.ศ. 1045 ถึงปี ค.ศ. 1050 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของพระองค์ แอบบีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1065 เพียงอาทิตย์เดียวก่อนที่จะเสด็จสวรรคตและใช้เป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เอง ในปี ค.ศ. 1245 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ก็ทรงสร้างแอบบีใหม่แทนแอบบีเดิมและทรงเลือกให้เป็นที่บรรจุพระศพของพระองค์เอง





 ภาพของแอบบีเดิมที่ในลักษณะที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ก็เหลืออยู่เพียงภาพที่ปรากฏอยู่ข้างๆ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์บนผ้าปักบายู ทางแอบบีมีรายได้เพิ่มขึ้นจนขยายตัวจากนักพรตราวสิบกว่ารูปขึ้นไปเป็นราวแปดสิบรูป

อธิการของแอบบีผู้ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียนพำนักอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองมาตั้งแต่หลังจากชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปลาคริสต์ศตวรรษที่ 11 และต่อมาอีกหลายร้อยปี ก็มักจะได้รับตำแหน่งในพระราชสำนักและในที่สุดก็มีสิทธิได้เป็นสมาชิกในสภาขุนนาง เมื่ออำนาจทางด้านการเป็นผู้นำของคณะถูกย้ายไปอยู่ที่แอบบีคลูนีในฝรั่งเศสในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10นักพรตของแอ็บบีเวสต์มินสเตอร์ก็มีโอกาสในการบริหารบริเวณที่ดินต่างๆ ที่เป็นเจ้าของซึ่งบางครั้งก็ไกลไปจากเวสต์มินสเตอร์เองมาก นักพรตคณะเบเนดิกตินดูเหมือนจะปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตอย่างฆราวาสได้เป็นอย่างดี   และโดยเฉพาะกับในหมู่ชนชั้นสูงเป็นคำสรุปของบาร์บารา ฮาร์วีย์ ที่ทำให้เห็น     ภาพพจน์ของชีวิตประจำวันในแง่มุมของชนชั้นผู้ดีในสังคมชั้นสูงในยุคกลางและปลายยุคกลาง



แต่การที่มีที่ตั้งที่อยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้ทำให้นักพรตมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์มากไปกว่าปกติ ในทางสังคมนักพรตของแอบบีก็ยังปฏิบัติตัวอย่างสมถะเช่นเดียวกับนักพรตอื่นๆ ในคณะเดียวกันที่อยู่ที่อื่น อธิการแอบบีก็ยังคงมีฐานะเป็นผู้เป็นเจ้าของที่ดินของชุมชนราวสองสามพันคนรอบๆ แอบบี ในฐานะผู้บริโภคและนายจ้างทางราชสำนักก็ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจของเวสต์มินสเตอร์ นอกจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักกับเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นความสัมพันธ์อันดี แต่ทางเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้รับสิทธิพิเศษในการค้าขายใดๆ ในยุคกลาง[4] แอบบีเวสต์มินสเตอร์สร้างร้านค้าและที่อยู่อาศัยทางด้านตะวันตกแต่ก็เริ่มรุกเข้ามาในบริเวณของนักพรต


แอบบีกลายเป็นสถานที่ในการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเศกของพระมหากษัตริย์นอร์มันแต่ไม่มีองค์ใดที่ถูกฝังที่นั่นมาจนมาถึงพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ผู้ทรงอุทิศพระองค์แก่ลัทธินิยมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ พระองค์ทรงสร้างแอบบีเวสต์มินสเตอร์ใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมกอธิคเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่นักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ผู้ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1161 และเป็นที่สำหรับฝังพระบรมศพของพระองค์เอง งานการก่อสร้างยังคงทำกันต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1245 ถึงปี ค.ศ. 1517 และส่วนใหญ่ทำโดยสถาปนิกเฮนรี เยเวล (Henry Yevele) ในสมัยพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ต่อมาในปี ในปี ค.ศ. 1503 พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ก็ทรงต่อเติมชาเปลแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular Period) ทางด้านหลังสุดของแอบบีที่อุทิศให้แก่พระแม่มารี (ที่รู้จักกันว่า ชาเปลพระแม่มารีของพระเจ้าเฮนรีที่ 7”) หินที่ใช้สร้างแอบบีมาจากค็อง (Caen) ในฝรั่งเศส และในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์

                                                                                                 
เวสต์มินสเตอร์ก็เป็นอาสนวิหารอยู่ได้เพียงสิบปีจนถึงปี ค.ศ. 1550    จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แอบบีเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นสถานศึกษาลำดับที่สามของอังกฤษรองจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเป็นสถานที่ที่หนึ่งในสามตอนแรกของคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ (King James Bible) ของพันธสัญญาเดิมและครึ่งหลังของพันธสัญญาใหม่ได้รับการแปล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แอบบีก็เป็นที่รวบรวมคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษฉบับใหม่ (New English Bible) แอบบี เวสต์มินสเตอร์ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยระหว่างการทิ้งระเบิดในลอนดอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940



การบรรจุศพและอนุสรณ์    พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงสร้างแอบบีเวสต์มินสเตอร์ใหม่เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ วัตถุมงคลของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เดิมอยู่ภายในสักการสถานในแอบบีแต่ในปัจจุบันย้ายไปอยู่ภายใต้ที่เก็บศพภายใต้พื้นโมเสกคอสมาติหน้าแท่นบูชาเอก ส่วนพระบรมศพของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 เองก็ถูกบรรจุไว้ในที่บรรจุอันงดงามไม่ไกลนัก เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท และพระญาติพระวงศ์อีกหลายพระองค์ หลังจากการบรรจุพระบรมศพของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แล้วการบรรจุศพภายในแอบบีก็กลายเป็นประเพณีของการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และพระราชินีเกือบทุกพระองค์ต่อมา ยกเว้นบางพระองค์เช่นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่ได้รับการบรรจุที่ชาเปลเซนต์จอร์จที่พระราชวังวินด์เซอร์เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 2

                            

                                     
พระบรมศพหรือพระศพของพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์จะบรรจุไว้ภายในชาเปลต่างๆ ภายในแอบบี ส่วนศพของนักบวชและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับแอบบีเวสต์มินสเตอร์ก็จะบรรจุภายในระเบียงฉันนบถและบริเวณอื่นๆ ในแอบบี เช่นกวีคนสำคัญของอังกฤษเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ผู้เคยพำนักอยู่ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์และเป็นข้าราชสำนักขณะที่มีชีวิตอยู่ กวีคนอื่นๆ ก็ถูกบรรจุไว้ในบริเวณเดียวกันที่เรียกกันว่า มุมกวี” ที่ได้แก่; วิลเลียม เบลค, โรเบิร์ต เบิร์นส และวิลเลียม เชกสเปียร์เป็นต้น ต่อมาการบรรจุศพกันในแอบบีกลายมาเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตา จึงทำให้เผยแพร่ไปยังการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ จากอาชีพต่างๆ เช่นนักการเมือง, นักวิทยาศาสตร์ หรือนักการทหารเป็นต้น



ผู้สร้างและอายุการสร้าง


เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 616 ณ ที่ตั้งปัจจุบันที่เดิมเรียกว่า ธอร์น อาย(เกาะธอร์น) ซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำ ตามหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่ากล่าวว่าในคริสต์ทศวรรษ 960 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 970 นักบุญดันสตันร่วมกับพระเจ้าเอ็ดการ์ได้ก่อตั้งชุมชนักพรตคณะเบเนดิกตินขึ้นที่นี่ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดหรือนักบุญเอ็ดเวิร์ดธรรมสักขีเป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เวสเซ็กซ์แห่ราชอาณาจักรอังกฤษ ก็สร้างแอบบีให้เป็นโบสถ์หินระหว่างปี ค.ศ. 1045 ถึงปี ค.ศ. 1050 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของพระองค์

     
รูปแบบศิลปะและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม

ลักษณะการสร้างวิหารแอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นสถาปัตยกรรมแบบกอธิค    สถาปัตยกรรมกอธิค (อังกฤษ: Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองระหว่างยุคกลางตอนกลางและยุคกลางตอนปลายที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอธิคเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังอังกฤษ และต่อไปยังยุโรปโดยทั่วไป

สถาปัตยกรรมกอธิคเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอธิค" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก



สถาปัตยกรรมกอธิคเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างมหาวิหารแอบบี และ คริสต์ศาสนสถานอื่นๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท วัง  ตึกเทศบาลเมือง  มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอธิคที่ใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอธิคเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก





 สถาปัตยกรรมกอธิคพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ผนังครีบลอย ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอธิคจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบได้มากขึ้น

แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
พระราชวังบัคกิ้งแฮม (Buckkingham Palace)


พระราชวังบั้คกิ้งแฮมเป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่2 และพระสวามี เดิมเป็นบ้านของขุนนาง Duke of Buckingham โดยสร้างเมื่อปีค.ศ. 1703 – 1705 ต่อมาได้ยึดเข้าเป็นของหลวงในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที3 เพื่อพระราชทานให้พระนางชาร์ลอตต์ในปี ค.ศ.1762 และปรับปรุงให้กลายเป็นพระราชวังในเวลา  ต่อมา



พระนางเจ้าวิกตอเรียเป็นองค์แรกที่ประทับอยู่ที่นี่ พระราชวังบั้คกิ้งแฮม เพิ่งเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง นัยว่าจะนำเงินค่าเข้าชมไปช่วยในการซ่อมแซม  พระราชวังวินด์เซอร์ที่ถูกเพลิงไหม้ โดยเปิดให้เข้าชมในเดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคม ค่าเข้าชมคนละ 10 ปอนด์ ตั้งแต่ 9.30 – 16.30น. ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าชมเป็นจำนวนมากและต้องเข้าคิวนานประมาณ 1 ชั่วโมง ห้ามถ่ายรูปและวิดีโอ ห้องที่เปิดให้เข้าชมคือท้องพระโรง ห้องจัดพระราชทานเลี้ยง ห้องทรงดนตรี ห้องขาว ห้องเขียว และห้องสีน้ำเงิน




  หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster)








      หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์   หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้าง หลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่16ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รีเป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตรโดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย(victorian gothic)ถ้าเอ่ยถึงชื่อว่าหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หลาย ๆ คน อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย



มหาวิหารเซนต์ปอล (The Basilica of Saint Paul)



มหาวิหารเซนต์ปอล คือจุดสนใจที่สำคัญที่สุดในเขตนี้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่พลาดที่จะไปเยี่ยม คือคำที่สลักไว้บนพื้นใต้โดมแห่งมหาวิหารเซนต์ปอลเพื่อรำลึกถึงเซอร์ คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ ผู้ที่สร้างลอนดอนขึ้นมาใหม่หลังจากไฟไหม้ครั้งใหญ่  เขาเป็นผุ้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารแห่งนี้ด้วยตนเองจนแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกับการก่อสร้างมหาวิหารขนาดใหญ่เช่นนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงชีวิตคนๆหนึ่ง     เซอร์คริสโตเฟอร์ เรนจึงออกแบบสร้างใหม่ให้มีหลังคาทรงโดมสูงตระหง่านและก่อสร้างแล้วเสร็จในปีค.ศ. 1710 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 35 ปี โดมยอดเป็นโดมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ที่วาติกัน ภายในมีสิ่งที่น่าสนใจคือวิสเปอริ่งแกลเลิรี่ (Whispering Gallery)



 ทราฟัลการ์สแควร์(Trafalgar Square)



เป็นจัตุรัสกว้างใหญ่มีอนุสาวรีย์ลอร์ดเนลสัน อยู่ตรงกลาง แผ่นป้ายจุดเริ่มต้นกิโลเมตรหรือไมล์ที่ 0 อยู่ใกล้พระรูปทรงม้าของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 อาคารโดยรอบเป็นสถานที่น่าสนใจ อาทิ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเนชั่นแนลแกลเลอรี่และโบสถ์เซนต์มาร์ตินอินเดอะฟิลด์  ทราฟัลการ์สแควร์สร้างขึ้นบนพื้นที่ที่เคยเป็นคอกม้าหลวงของพระราชวังที่ไวท์ฮอลล์ในปีค.ศ. 1830 – 1840 เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ให้กับยุทธนาวีที่ทราฟัลการ์ของลอร์ดเนลสันในปีค.ศ. 1805 ตัวอนุสาวรีย์เป็นเสากลมเดี่ยวสูง 185 เมตร ข้างบนเป็นรูปปั้นของลอร์ดเนลสันในเครื่องแบบเต็มยศ ลอร์ดเนลสัน  เป็นทหารเรือที่อังกฤษภาคภูมิใจในความกล้าหาญ เขาเสียตาและแขนในการรบ แต่ก็ยังออกทะเลในฐานะกัปตันเรือและเสียชีวิต  ขณะบัญชาการรบจนได้รับชัยชนะ ในการรบหับฝรั่งเศสที่ทราฟัลการ์สแควร์ (ศพของเขาถูกแช่เหล้ารัม นำกลับมาฝังไว้ที่มหาวิหารเซนต์ปอล)

แหล่งซื้อของที่ระลึก

ตลาดเก่าโคเวนต์การ์เดน (Covent Garden Market)ตลาดโคเวนต์การ์เดนเป็นตลาดเก่าสมัยวิคตอเรียที่จำหน่ายผัก ผลไม้ และดอกไม้สดเป็นหลัก แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป จากที่ขายของสดก็แปรเปลี่ยนเป็นตลาดที่ขายของที่ระลึกและงานฝีมือแทน



ถนนนีลล์ สตรีท (Neal Street)
ถนนสายเล็กๆ ที่พื้นปูด้วยหินเหมือนกับถนนอนุรักษ์ในหลายๆ แห่งในลอนดอน โดยสองข้างทางของถนนจะมีร้านค้าแบรนด์ดังๆ มาเปิดกันมากมายรวมทั้งแบรนด์ดังๆ ของอังกฤษ ส่วนตามตรอกซอกซอยที่แยกย่อยออกไปก็จะมีร้านค้าแนววัยรุ่นเปิดขายสินค้าอินเทรนด์นำสมัยกันแทบทั้งสิ้น  




อ็อกซฟอร์ดสตรีท (Oxford Street)


บนถนนเส้นอ็อกซฟอร์ดสตรีทนี้จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครเลยก็คือ จะมีห้างสรรพสินค้าชั้นนำของอังกฤษ และชอปปิงเซ็นเตอร์มารวมกันอยู่บนถนนเส้นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นพลาซา อ็อกซฟอร์ดสตรีท (Plaza Oxford Street), ห้างสรรพสินค้าจอห์นหลุยส์ (John Lewis), ห้างสรรพสินค้าเฮาส์ ออฟ เฟรเซอร์ (House of Frazer) ฯลฯ ซึ่งแต่ละห้างก็ล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงด้วยกันทั้งสิ้น รูปแบบตัวอาคารก็จะแปลกแตกต่างกันออกไปในสไตล์คลาสสิกแบบอังกฤษ


ถนนบอนด์สตรีท (Bond Street)
ถนนเส้นนี้พวกชอบแบรนด์เนมทั้งหลายไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีร้านค้าที่มีชื่อเสียงระดับโลกเรียงรายอยู่บนถนนเต็มไปหมด (พวกหลุยส์ วิตตอง, ชาแนล, แอร์เมส, พราดา ฯลฯ) นอกจากนี้ยังมีห้างสรรพสินค้าชื่อดังที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1891 ตั้งอยู่บนถนนเส้นนี้ด้วย

ตัวอย่างของที่ระลึก

Royal Rose Navy  (น้ำเงินครามแบบกุหลาบของพระราชา)


สีอันเป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ที่ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่ง Cath Kidston ได้นำมาปรับ เปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็นสีน้ำเงินที่โดดเด่นชัดเจนยิ่งขึ้น


Victoria Rose (กุหลาบวิคทอเรีย)


   จากแรงบันดาลใจของกลีบดอกไม้งามละมุนและอ่อนหวาน ได้รับการถ่ายทอดรังสรรค์ให้ออกมาเป็น การไล่เฉดสีอย่างประณีตบรรจง เหมาะกับผู้มีรสนิยมพิสมัยความแปลกใหม่กับสไตล์มิกซ์แอนด์แมทช์ที่เข้ากัน อย่างเหมาะเจาะ


บรรณานุกรรม


http://www.qetour.com/united%20kingdom-travel-guide.php

http://www.krobkruakao.com/