บทนำ
สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในยุโรปตะวันตก เป็นบทความที่บรรยายถึงลักษณะสิ่งก่อสร้างของมหาวิหารทางคริสต์ศาสนา ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับมหาวิหารในยุโรปตะวันตก
มหาวิหาร หรือ อาสนวิหาร คือโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลมุขนายกตามที่กำหนดไว้[1] มหาวิหารเป็นที่เป็นที่ตั้งของ “คาเทดรา” (bishop's cathedra) และเป็นสถานที่ทางคริสต์ศาสนาที่ใช้ในการนมัสการ (โดยเฉพาะสำหรับนิกายที่มีระบบฐานันดรการปกครองเช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ หรือแองกลิคัน) ขนาดของสิ่งก่อสร้างที่เป็นมหาวิหารไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตเสมอไป อาจจะมีขนาดเล็กอย่างเช่น มหาวิหารอ๊อกซฟอร์ด หรือ มหาวิหารเชอร์ที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วมหาวิหารมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดและเด่นที่สุดในท้องถิ่นที่ตั้งอยู่
แอบบีเวสต์มินสเตอร์ Westminster Abbey (ชื่อเดิมคือเซนต์เซวิเออร์) เดิมเป็นอารามชนิดแอบบี แต่ปัจจุบันเป็นโบสถ์ในนิกายแองกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในแขวงเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน แคว้นอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอธิคเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค แอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นสถานที่ที่ใช้ในการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพของพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1546 ถึง 1556 แอบบีได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอาสนวิหาร ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แอบบีก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวง
แอบบีเวสต์มินสเตอร์ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Westminster) เป็นบริเวณในใจกลางลอนดอน (Central London) ที่ตั้งอยู่เหนือของฝั่งแม่น้ำเทมส์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครหลวงลอนดอน และ 1 กิโลเมตรจากชาริงครอสส์ เวสต์มินสเตอร์เป็นบริเวณที่มีสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์และสิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมลอนดอนรวมทั้งพระราชวังบัคคิงแฮม, แอบบีเวสต์มินสเตอร์ และบริเวณเวสต์เอ็นด์ของลอนดอน (West End of London)
เวสต์มินสเตอร์เดิมเป็นส่วนหนึ่งของมิดเดิลเซ็กซ์ที่เป็นมลฑลในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ (Historic
counties of England) คำว่า “เวสต์มินสเตอร์” เป็นคำบรรยายโบราณของบริเวณรอบแอบบีเวสต์มินสเตอร์ –– “เวสต์” + “มินสเตอร์”
(บริเวณทางตะวันตกของมหาวิหาร) เวสต์มินสเตอร์เป็นที่ตั้งของ รัฐบาลแห่งอังกฤษมาร่วมหนึ่งพันปี
ตั้งแต่การก่อตั้งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เวสต์มินสเตอร์ก็เป็นที่ตั้งของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ซึ่งเป็นมรดกโลกและเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร
เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี
ค.ศ. 616 ณ ที่ตั้งปัจจุบันที่เดิมเรียกว่าธอร์น อาย (เกาะธอร์น)
ซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำ ตามตำนานกล่าวว่าคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ชื่ออัลดริชเห็นนักบุญปีเตอร์มาปรากฏตัวใกล้กับที่ตั้งแอบบีในปัจจุบัน
ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลของการที่แอบบีได้รับปลาซาลมอนจากคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ต่อมา
แต่ตามหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่ากล่าวว่าในคริสต์ทศวรรษ 960 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ
970 นักบุญดันสตันร่วมกับพระเจ้าเอ็ดการ์ได้ก่อตั้งชุมชนนักพรตคณะเบเนดิกตินขึ้นที่นี่
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพก็สร้างแอบบีให้เป็นโบสถ์หินระหว่างปี
ค.ศ. 1045 ถึงปี ค.ศ. 1050 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของพระองค์
แอบบีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1065 เพียงอาทิตย์เดียวก่อนที่จะเสด็จสวรรคตและใช้เป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เอง
ในปี ค.ศ. 1245 พระเจ้าเฮนรีที่
3 ก็ทรงสร้างแอบบีใหม่แทนแอบบีเดิมและทรงเลือกให้เป็นที่บรรจุพระศพของพระองค์เอง
อธิการของแอบบีผู้ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียนพำนักอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองมาตั้งแต่หลังจากชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปลาคริสต์ศตวรรษที่
11 และต่อมาอีกหลายร้อยปี
ก็มักจะได้รับตำแหน่งในพระราชสำนักและในที่สุดก็มีสิทธิได้เป็นสมาชิกในสภาขุนนาง เมื่ออำนาจทางด้านการเป็นผู้นำของคณะถูกย้ายไปอยู่ที่แอบบีคลูนีในฝรั่งเศสในกลางคริสต์ศตวรรษที่
10นักพรตของแอ็บบีเวสต์มินสเตอร์ก็มีโอกาสในการบริหารบริเวณที่ดินต่างๆ
ที่เป็นเจ้าของซึ่งบางครั้งก็ไกลไปจากเวสต์มินสเตอร์เองมาก “นักพรตคณะเบเนดิกตินดูเหมือนจะปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตอย่างฆราวาสได้เป็นอย่างดี
และโดยเฉพาะกับในหมู่ชนชั้นสูง” เป็นคำสรุปของบาร์บารา ฮาร์วีย์ ที่ทำให้เห็น
ภาพพจน์ของชีวิตประจำวันในแง่มุมของชนชั้นผู้ดีในสังคมชั้นสูงในยุคกลางและปลายยุคกลาง
แต่การที่มีที่ตั้งที่อยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้ทำให้นักพรตมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์มากไปกว่าปกติ
ในทางสังคมนักพรตของแอบบีก็ยังปฏิบัติตัวอย่างสมถะเช่นเดียวกับนักพรตอื่นๆ
ในคณะเดียวกันที่อยู่ที่อื่น
อธิการแอบบีก็ยังคงมีฐานะเป็นผู้เป็นเจ้าของที่ดินของชุมชนราวสองสามพันคนรอบๆ
แอบบี ในฐานะผู้บริโภคและนายจ้างทางราชสำนักก็ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจของเวสต์มินสเตอร์
นอกจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักกับเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นความสัมพันธ์อันดี
แต่ทางเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้รับสิทธิพิเศษในการค้าขายใดๆ ในยุคกลาง[4]
แอบบีเวสต์มินสเตอร์สร้างร้านค้าและที่อยู่อาศัยทางด้านตะวันตกแต่ก็เริ่มรุกเข้ามาในบริเวณของนักพรต
เวสต์มินสเตอร์ก็เป็นอาสนวิหารอยู่ได้เพียงสิบปีจนถึงปี
ค.ศ. 1550 จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19
แอบบีเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นสถานศึกษาลำดับที่สามของอังกฤษรองจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเป็นสถานที่ที่หนึ่งในสามตอนแรกของคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ (King
James Bible) ของพันธสัญญาเดิมและครึ่งหลังของพันธสัญญาใหม่ได้รับการแปล
ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แอบบีก็เป็นที่รวบรวมคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษฉบับใหม่ (New
English Bible) แอบบี
เวสต์มินสเตอร์ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยระหว่างการทิ้งระเบิดในลอนดอนเมื่อวันที่
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940
การบรรจุศพและอนุสรณ์
พระเจ้าเฮนรีที่ 3
ทรงสร้างแอบบีเวสต์มินสเตอร์ใหม่เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ วัตถุมงคลของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เดิมอยู่ภายในสักการสถานในแอบบีแต่ในปัจจุบันย้ายไปอยู่ภายใต้ที่เก็บศพภายใต้พื้นโมเสกคอสมาติหน้าแท่นบูชาเอก
ส่วนพระบรมศพของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 เองก็ถูกบรรจุไว้ในที่บรรจุอันงดงามไม่ไกลนัก
เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท และพระญาติพระวงศ์อีกหลายพระองค์
หลังจากการบรรจุพระบรมศพของพระเจ้าเฮนรีที่ 3
แล้วการบรรจุศพภายในแอบบีก็กลายเป็นประเพณีของการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และพระราชินีเกือบทุกพระองค์ต่อมา
ยกเว้นบางพระองค์เช่นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และพระเจ้าชาร์ลส์ที่
1 ที่ได้รับการบรรจุที่ชาเปลเซนต์จอร์จที่พระราชวังวินด์เซอร์เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่
2
ผู้สร้างและอายุการสร้าง
ลักษณะการสร้างวิหารแอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นสถาปัตยกรรมแบบกอธิค สถาปัตยกรรมกอธิค (อังกฤษ: Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองระหว่างยุคกลางตอนกลางและยุคกลางตอนปลายที่วิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา
สถาปัตยกรรมกอธิคเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังอังกฤษ และต่อไปยังยุโรปโดยทั่วไป
สถาปัตยกรรมกอธิคเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่
12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก
สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอธิค"
มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม
ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอธิคที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน
และ ค้ำยันแบบปีก
สถาปัตยกรรมกอธิคเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างมหาวิหารแอบบี และ คริสต์ศาสนสถานอื่นๆ
ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท วัง ตึกเทศบาลเมือง มหาวิทยาลัย
และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก
สถาปัตยกรรมกอธิคที่ใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหาร
และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง
ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอธิคเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์
ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา
และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
พระราชวังบัคกิ้งแฮม (Buckkingham
Palace)
พระราชวังบั้คกิ้งแฮมเป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่2 และพระสวามี เดิมเป็นบ้านของขุนนาง Duke of Buckingham โดยสร้างเมื่อปีค.ศ. 1703 – 1705 ต่อมาได้ยึดเข้าเป็นของหลวงในรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที3
เพื่อพระราชทานให้พระนางชาร์ลอตต์ในปี ค.ศ.1762 และปรับปรุงให้กลายเป็นพระราชวังในเวลา
ต่อมา
พระนางเจ้าวิกตอเรียเป็นองค์แรกที่ประทับอยู่ที่นี่
พระราชวังบั้คกิ้งแฮม เพิ่งเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง นัยว่าจะนำเงินค่าเข้าชมไปช่วยในการซ่อมแซม พระราชวังวินด์เซอร์ที่ถูกเพลิงไหม้ โดยเปิดให้เข้าชมในเดือนสิงหาคมและเดือนตุลาคม
ค่าเข้าชมคนละ 10 ปอนด์ ตั้งแต่ 9.30 – 16.30น. ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าชมเป็นจำนวนมากและต้องเข้าคิวนานประมาณ 1
ชั่วโมง ห้ามถ่ายรูปและวิดีโอ ห้องที่เปิดให้เข้าชมคือท้องพระโรง
ห้องจัดพระราชทานเลี้ยง ห้องทรงดนตรี ห้องขาว ห้องเขียว และห้องสีน้ำเงิน
หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเบน เป็นหอนาฬิกาประจำพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นรัฐสภาอังกฤษ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวัง หอนาฬิกานี้ถูกสร้าง หลังจากไฟไหม้พระราชวังเวสต์มินสเตอร์เดิม เมื่อวันที่16ตุลาคม พ.ศ. 2377 โดยชาลส์ แบร์รีเป็นผู้ออกแบบ หอนาฬิกามีความสูง 96.3 เมตรโดยที่ตัวนาฬิกาอยู่สูงจากพื้น 55 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย(victorian gothic)ถ้าเอ่ยถึงชื่อว่าหอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หลาย ๆ คน อาจจะรู้สึกไม่คุ้นเคย
มหาวิหารเซนต์ปอล
คือจุดสนใจที่สำคัญที่สุดในเขตนี้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่พลาดที่จะไปเยี่ยม คือคำที่สลักไว้บนพื้นใต้โดมแห่งมหาวิหารเซนต์ปอลเพื่อรำลึกถึงเซอร์
คริสโตเฟอร์ เรน (Sir Christopher Wren) สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ
ผู้ที่สร้างลอนดอนขึ้นมาใหม่หลังจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ เขาเป็นผุ้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารแห่งนี้ด้วยตนเองจนแล้วเสร็จ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกับการก่อสร้างมหาวิหารขนาดใหญ่เช่นนี้ให้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงชีวิตคนๆหนึ่ง
เซอร์คริสโตเฟอร์ เรนจึงออกแบบสร้างใหม่ให้มีหลังคาทรงโดมสูงตระหง่านและก่อสร้างแล้วเสร็จในปีค.ศ.
1710 ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 35 ปี
โดมยอดเป็นโดมที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ที่วาติกัน
ภายในมีสิ่งที่น่าสนใจคือวิสเปอริ่งแกลเลิรี่ (Whispering Gallery)
ทราฟัลการ์สแควร์(Trafalgar
Square)
เป็นจัตุรัสกว้างใหญ่มีอนุสาวรีย์ลอร์ดเนลสัน อยู่ตรงกลาง แผ่นป้ายจุดเริ่มต้นกิโลเมตรหรือไมล์ที่
0 อยู่ใกล้พระรูปทรงม้าของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
อาคารโดยรอบเป็นสถานที่น่าสนใจ อาทิ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเนชั่นแนลแกลเลอรี่และโบสถ์เซนต์มาร์ตินอินเดอะฟิลด์
ทราฟัลการ์สแควร์สร้างขึ้นบนพื้นที่ที่เคยเป็นคอกม้าหลวงของพระราชวังที่ไวท์ฮอลล์ในปีค.ศ.
1830 – 1840 เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ให้กับยุทธนาวีที่ทราฟัลการ์ของลอร์ดเนลสันในปีค.ศ.
1805 ตัวอนุสาวรีย์เป็นเสากลมเดี่ยวสูง 185 เมตร
ข้างบนเป็นรูปปั้นของลอร์ดเนลสันในเครื่องแบบเต็มยศ ลอร์ดเนลสัน เป็นทหารเรือที่อังกฤษภาคภูมิใจในความกล้าหาญ เขาเสียตาและแขนในการรบ
แต่ก็ยังออกทะเลในฐานะกัปตันเรือและเสียชีวิต ขณะบัญชาการรบจนได้รับชัยชนะ
ในการรบหับฝรั่งเศสที่ทราฟัลการ์สแควร์ (ศพของเขาถูกแช่เหล้ารัม
นำกลับมาฝังไว้ที่มหาวิหารเซนต์ปอล)
แหล่งซื้อของที่ระลึก
ตลาดเก่าโคเวนต์การ์เดน
(Covent
Garden Market)ตลาดโคเวนต์การ์เดนเป็นตลาดเก่าสมัยวิคตอเรียที่จำหน่ายผัก ผลไม้
และดอกไม้สดเป็นหลัก แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป จากที่ขายของสดก็แปรเปลี่ยนเป็นตลาดที่ขายของที่ระลึกและงานฝีมือแทน
ถนนนีลล์ สตรีท (Neal Street) ถนนสายเล็กๆ ที่พื้นปูด้วยหินเหมือนกับถนนอนุรักษ์ในหลายๆ แห่งในลอนดอน โดยสองข้างทางของถนนจะมีร้านค้าแบรนด์ดังๆ มาเปิดกันมากมายรวมทั้งแบรนด์ดังๆ ของอังกฤษ ส่วนตามตรอกซอกซอยที่แยกย่อยออกไปก็จะมีร้านค้าแนววัยรุ่นเปิดขายสินค้าอินเทรนด์นำสมัยกันแทบทั้งสิ้น |
บนถนนเส้นอ็อกซฟอร์ดสตรีทนี้จุดเด่นที่ไม่เหมือนใครเลยก็คือ จะมีห้างสรรพสินค้าชั้นนำของอังกฤษ และชอปปิงเซ็นเตอร์มารวมกันอยู่บนถนนเส้นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นพลาซา อ็อกซฟอร์ดสตรีท (Plaza Oxford Street), ห้างสรรพสินค้าจอห์นหลุยส์ (John Lewis), ห้างสรรพสินค้าเฮาส์ ออฟ เฟรเซอร์ (House of Frazer) ฯลฯ ซึ่งแต่ละห้างก็ล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงด้วยกันทั้งสิ้น รูปแบบตัวอาคารก็จะแปลกแตกต่างกันออกไปในสไตล์คลาสสิกแบบอังกฤษ
ถนนบอนด์สตรีท
(Bond
Street)
ถนนเส้นนี้พวกชอบแบรนด์เนมทั้งหลายไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีร้านค้าที่มีชื่อเสียงระดับโลกเรียงรายอยู่บนถนนเต็มไปหมด (พวกหลุยส์ วิตตอง, ชาแนล, แอร์เมส, พราดา ฯลฯ) นอกจากนี้ยังมีห้างสรรพสินค้าชื่อดังที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1891 ตั้งอยู่บนถนนเส้นนี้ด้วย |
ตัวอย่างของที่ระลึก
จากแรงบันดาลใจของกลีบดอกไม้งามละมุนและอ่อนหวาน ได้รับการถ่ายทอดรังสรรค์ให้ออกมาเป็น การไล่เฉดสีอย่างประณีตบรรจง เหมาะกับผู้มีรสนิยมพิสมัยความแปลกใหม่กับสไตล์มิกซ์แอนด์แมทช์ที่เข้ากัน อย่างเหมาะเจาะ
http://www.qetour.com/united%20kingdom-travel-guide.php
http://www.krobkruakao.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น