พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เกิดเมื่อวันที่
24 ตุลาคม พ.ศ. 2348
ที่ เมืองโกต-ดอร์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อท่านอายุได้ 23
ปี ท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นบาทหลวง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2371
ที่เซมินารีของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส
จากนั้นท่านก็ได้รับหน้าที่ให้ไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ณ ประเทศไทย
และท่านได้ออกเดินทางเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2371 ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2372
ในปี พ.ศ. 2381 ท่านได้รับตำแหน่งอธิการโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ท่านได้ปรับปรุงโบสถ์แห่งนี้ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2217 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วจากถูกทิ้งร้างมานานแล้วย้ายไปอยู่ที่โบสถ์อัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2381
จนปี พ.ศ. 2378 มุขนายก ฌ็อง-ปอล-อีแลร์-มีแชล
กูร์เวอซี (Jean-Paul-Hilaire-Michel
Courvezy) ประมุขมิสซังสยามในขณะนั้นได้แต่งตั้งท่านเป็นอุปมุขนายก (vicar
general) แล้วให้ดูแลดินแดนสยามในช่วงที่ท่านไปดูแลมิสซังที่สิงคโปร์
เมื่อกลับมาก็ได้รับอนุญาตจากสันตะสำนักให้อภิเษกท่านปาเลอกัวเป็นมุขนายกรองประจำมิสซังสยาม (Coadjutor Vicar
Apostolic of Siam) ในปี พ.ศ. 2381 พร้อมทั้งดำรงตำแหน่งมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส เมื่อมีการแบ่งมิสซังสยามออกเป็นสองมิสซัง
ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประมุขมิสซังสยามตะวันออกเป็นท่านแรก ในวันที่ 10 ก.ย. พ.ศ. 2384
สังฆราชปัลเลอกัวซ์ได้เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสเมื่อ
พ.ศ. 2397 ช่วงต้นรัชกาลที่ 4
หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี
และเป็นผู้นำพระราชสาส์นจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปถวาย สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่
9
ขณะพำนักอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ได้ตีพิมพ์หนังสือขึ้น 3 เล่ม
คือ
- เล่าเรื่องกรุงสยาม (Description du Royaume Thai ou
Siam)
- สัพะ พะจะนะ พาสา ไท
(พจนานุกรมสี่ภาษา)
- Grammatica linguoe Thai (ไวยากรณ์ภาษาไทย)
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทย
เมื่อ พ.ศ. 2388โดยได้สั่งบาทหลวงอัลบรันด์ซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศสฝากมากับบาทหลวงลาร์นอดี (L'
abbe Larnaudie) เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2388
พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศสนาน
3 ปี จึงเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2399 และถึงแก่มรณภาพที่โบสถ์อัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2405
อายุ 57 ปี ศพฝังอยู่ในโบสถ์คอนเซ็ปชัญ ได้มีขบวนแห่จากหน้าโบสถ์อัสสัมชัญไปยังหน้าโบสถ์คอนเซ็ปชั่น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ให้พิธีศพเป็นไปอย่างสงงามที่สุด
จึงพระราชทานเรือหลวงสองลำเพื่อนำขบวนโดยบรรทุกหีบศพ
ขบวนแห่นั้นประกอบไปด้วยเรือดนตรี (ดนตรีไทยจากค่ายคริสตัง) เรือของคริสตัง
ข้าราชการไทย และทูตต่างประเทศ
ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย
บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ หรือฌอง แบบตีสต์ ปาลเลอกัวซ์ (พ.ศ. 2348 - 2405) ชาวฝรั่งเศส เป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มแรกท่านพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ต่อมาได้ย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2381 ได้เป็นสังฆราช ณ วัดคอนเซ็ปชัญบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ดี รวมทั้งมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิชาความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและประวัติศาสตร์ไทย
ผลงานสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น โดยมีวชิรญาณเถระ ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก
นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา คือ ภาษาไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ หรือสัพพะ พะจะนะ พาสาไท พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397 เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส และแต่งหนังสือเรื่อง "เล่าเรื่องเมืองสยาม" ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น
2. ด้านวิทยาการตะวันตก บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388 โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส และมีฝีมือในการชุบโลหะ ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์
บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ หรือฌอง แบบตีสต์ ปาลเลอกัวซ์ (พ.ศ. 2348 - 2405) ชาวฝรั่งเศส เป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มแรกท่านพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ต่อมาได้ย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2381 ได้เป็นสังฆราช ณ วัดคอนเซ็ปชัญบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ดี รวมทั้งมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิชาความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและประวัติศาสตร์ไทย
ผลงานสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านอักษรศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น โดยมีวชิรญาณเถระ ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก
นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา คือ ภาษาไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ หรือสัพพะ พะจะนะ พาสาไท พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397 เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส และแต่งหนังสือเรื่อง "เล่าเรื่องเมืองสยาม" ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น
2. ด้านวิทยาการตะวันตก บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388 โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส และมีฝีมือในการชุบโลหะ ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์
3. ด้านศาสนา บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คริสตศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย เช่น สร้างสำนักพระสังฆราชเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่วัดอัสสัมชัญบางรัก และได้ย้ายจากวัดคอนเซ็ปชัญไปอยู่ที่วัดอัสสัมชัญจนกระทั่งมรณภาพ
ดีครับดี ดีจริงๆครับ
ตอบลบดีครับดี ดีจริงๆครับ
ตอบลบใครเป็นคนสอนภาษาไทยให้แก่ท่านคะ
ตอบลบ